อาการปวดประจำเดือนหากมีอาการปวดเพียงเล็กน้อยและสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติก็ไม่อันตราย แต่ถ้าอาการปวดประจำเดือนเล็กน้อยแต่ปวดมาเป็นระยะเวลานาน อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกของโรคร้ายได้เช่นเดียวกับอาการปวดประจำเดือนที่รุนแรงจนส่งผลต่อคุณภาพชีวิต ทำไมถึงปวดประจำเดือน โดยเฉลี่ยทุกๆ 28 วัน หากไข่ไม่มีอสุจิมาผสม เยื่อบุโพรงมดลูกจะหลุดลอกออกมาเป็นประจำเดือน อาการปวดประจำเดือนเกิดจากสารที่ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมน ชื่อว่า โพรสตาแกลนดิน (prostaglandin) ซึ่งก่อตัวขึ้นที่เยื่อบุโพรงมดลูกระหว่างมีประจำเดือน โพรสตาแกลนดินทำให้กล้ามเนื้อบีบตัวและหดเกร็งคล้ายกับอาการเจ็บปวดขณะคลอดบุตร นอกจากนี้ยังทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ ท้องเสีย หากร่างกายหลั่งสารนี้ในปริมาณมากจะยิ่งเพิ่มความรุนแรงของอาการบีบรัด ทำให้รู้สึกปวดประจำเดือนยิ่งขึ้น อาการปวดประจำเดือนแบ่งเป็น 2 ประเภท 1. ประเภทปฐมภูมิ (Primary Dysmenorrhea) เป็นอาการปวดประจำเดือนที่พบบ่อยที่สุด สาเหตุมักเกิดจากการที่เยื่อบุโพรงมดลูกผลิตสารโพรสตาแกลนดินมากเกินไป 2. ประเภททุติยภูมิ (Secondary Dysmenorrhea) เกิดจากภาวะผิดปกติของมดลูกหรืออวัยวะสืบพันธุ์อื่นๆ เช่น - เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (endometriosis) - เยื่อบุมดลูกเจริญภายในกล้ามเนื้อมดลูก (Adenomyosis) - เนื้องอกมดลูก (uterine fibroids) - ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ (Pelvic Inflammatory Disease) - ภาวะปากมดลูกตีบ (Cervical stenosis) หากท่านมีอาการปวดประจำเดือนที่ผิดปกติ เช่นเ ต้องเริ่มใช้ยาแก้ปวด และเพิ่มปริมาณยาขึ้นเรื่อยๆ หรือปวดยาวนาน ประจำเดือนยังไม่มาแต่ปวดท้องก่อนแล้ว หรือเลือดจะหมดแล้ว แต่ยังปวดท้องอยุ่ ต้องรีบพบแพทย์นะคะควรปรึกษาแพทย์ #ปวดประจำเดือน #สุขภาพหญิง #บำรุงราษฎร์

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์บำรุงราษฎร์โรงพยาบาลในกรุงเทพโรงพยาบาลกรุงเทพโรงพยาบาลเอกชนตรวจสุขภาพโปรแกรมตรวจสุขภาพตรวจพันธุกรรมโรคทางพันธุกรรมตรวจสุขภาพแบบองค์รวมสุขภาพชายสุขภาพหญิงตรวจสุขภาพผู้สูงวัยตรวจสุขภาพประจำปีตรวจสุขภาพที่ไหนดีตกขาวประจำเดือนประจำเดือนผิดปกติ