ติดตามเราที่ facebook : https://www.facebook.com/BeCuriousTH สำรองไว้ เผื่อช่องบิน จะได้หากันเจอ ------------------------------------------------------------------- คลิปนี้เป็นส่วนหนึ่งของซีรีย์ จิตวิทยา ศีลธรรม ที่ผมจะนำเรื่องที่น่าสนใจที่เกี่ยวกับศีลธรรม ในมุมมองของจิตวิทยาหรือหลักวิทยาศาสตร์มาเล่าสู่กันนะครับ โดยคลิปนี้ จะเป็นหัวข้อเรื่อง ทำไมถึงคิดว่า อารมณ์เป็นนาย เหตุผลเป็นบ่าว โดยเนื้อหาส่วนใหญ่ ผมนำมาจากหนังสือที่ชื่อ The Righteous mind ของ โจนาธาน ไฮดต์ นักจิตวิทยาชื่อดัง จากมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา เป็นหลักนะครับ และต้องย้ำก่อนว่า นี่คือการเล่าเนื้อหาที่มาจากงานวิจัยของโลกตะวันตก ดังนั้น อาจจะมีการตีความ และให้ความหมายของศัพท์บางอย่างที่ไม่ตรงกับศาสนาพุทธ หรือความเชื่อที่คนไทยส่วนใหญ่คุ้นเคยนะครับ มนุษย์เราพยายามศึกษา และหาคำตอบมาโดยตลอดว่าศีลธรรมคืออะไร คำจำกัดความแบบง่ายๆ คือ สิ่งที่กำหนดให้เรา รู้ว่าอะไรผิด อะไรถูก อะไรควรทำหรือไม่ควรทำ แล้วเรารู้เรื่องความถูกผิดเหล่านี้ได้ยังไง ศีลธรรมใช้อะไรตัดสิน อารมณ์หรือเหตุผล คำถามนี้ก็มีนักคิดหลายคนให้คำตอบไว้ โดย โจนาธาน ได้ยกตัวอย่าง นักคิดที่โดดเด่นไว้ 3 คน 3 สไตล์ คนแรกเป็นนักปราชญ์ชาวกรีกชื่อดัง นามว่า เพลโต ผู้เป็นอาจารย์ของอริสโตเติล เพลโตบอกว่า ศีลธรรมมาจากการใช้เหตุผลคิดวิเคราะห์ของมนุษย์ เขาเชื่อว่าส่วนหัวคือสิ่งที่สูงส่ง มีเหตุมีผล ส่วนร่างกายเป็นเพียงแค่ภาชนะรองรับหัวเราเท่านั้น และภาชนะนี้มีความยุ่งเหยิงอันทรงพลังที่เรียกว่าอารมณ์ ความรัก โลภ โกรธ หลง ที่เดือดพล่านอยู่ในร่างกาย ต้องถูกควบคุมด้วยศีรษะที่มีความคิดแบบมีเหตุมีผล ดังนั้นการใช้เหตุผล วิเคราะห์ว่าอะไรดีไม่ดี ควรไม่ควร จึงเป็นบ่อเกิดของศีลธรรมมนุษย์ เพลโตเชื่อว่า เหตุผลนำอารมณ์ แนวคิดที่สอง เป็นของนักปรัชญาชาวสก๊อต นามว่า เดวิด ฮูม เขาเชื่อว่า มนุษย์ตัดสินใจอะไรโดยใช้ความรู้สึก เราเป็นทาสความอ่อนไหวของอารมณ์ จากนั้นเราถึงค่อยสร้างเหตุผลมารองรับการตัดสินใจของเราทีหลัง ฮูม เชื่อว่า อารมณ์นำเหตุผล สำหรับแนวคิดที่สาม เป็นของนาย Thomas Jefferson ประธานาธิบดีคนที่ 3 ของสหรัฐอเมริกาเจฟเฟอร์สันบอกว่า ในปี 1786 ระหว่างที่เขาอยู่ฝรั่งเศส เขาได้พบรักกับหญิงสาวชาวอังกฤษที่ชื่อว่า มาเรีย คอสเวย์ และคอสเวย์ก็ตกหลุมรักเจฟเฟอร์สันเช่นกัน แต่ปัญหาคือ คอสเวย์นั้นแต่งงานมีสามีแล้ว แต่เป็นการแต่งงานแบบคลุมถุงชนเพื่อผลประโยชน์บางอย่าง ไม่ได้รักกันจริงๆ สามีของคอสเวย์ก็ไม่มีปัญหาที่ภรรยาของเขาจะรักชายอื่น แต่ถึงยังไง เจฟเฟอร์สันก็รู้ว่าสิ่งนี้มันผิด มันมีแรงผลักดันจากทั้งอารมณ์ และเหตุผล สู้กันในสมองเขาตลอดเวลา ท้ายสุดเขาก็เลือกทำตามฝั่งของเหตุผล นั่นก็คือเลือกแยกทางกับนางมาเรีย คอสเวย์ เจฟเฟอร์สัน บอกว่า ศีลธรรมความผิดถูก มันมีทั้งอารมณ์ และเหตุผล นั้นแหละ ทั้งสองอย่างนี้ขับเคลื่อนทั้งคู่ ผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะ แล้วแต่ว่าวันไหนอะไรแข็งแกร่งกว่ากัน ตอนนี้เรามี ศีลธรรมของมนุษย์ทั้ง 3 โมเดลแล้ว นักจิตวิทยาชาวอเมริกันนามว่า โจนาธาน ไฮต์ จะพาพวกเราไปไขปริศนาว่า โอเลของใคร ถูกต้องกันแน่? ------------------------------------------------------------------- Reference The Righteous Mind : https://en.wikipedia.org/wiki/The_Righteous_Mind Social Darwinism : https://en.wikipedia.org/wiki/Social_Darwinism Maria Cosway : https://www.monticello.org/site/research-and-collections/maria-cosway-engraving เหตุที่’ความรู้สึก’เป็นสิ่งสำคัญ : https://thematter.co/thinkers/why-are-feelings-important/47223 Damage to ventromedial prefrontal cortex impairs judgment of harmful intent : https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3085837/

ช่างสงสัยวิทยาศาสตร์ความรู้จิตวิทยาศีลธรรมJonathan Haidtจริยธรรมอารมณ์ความรู้สึกเหตุผลwilsondavidhumejeffersoncoswayantonio DamasioVentromedial Prefrontal Cortexว่า vmPFCThe Righteous Mind