"นิรมิตกรรม วนัมรุ้ง เทพพาหนะ" แนวคิดการสร้างงาน วนัมรุง หรือ พนมรุ้ง คำว่า วนัม ในภาษาเขมร คือ พนม แปลว่า ภูเขา ส่วนคำว่ารุง ในภาษาเขมรแปลว่า ใหญ่หรือกว้าง ดังนั้นคำว่า วนัมรุง หรือ พนมรุ้ง จึงมีความหมายว่าภูเขาใหญ่ ภายใต้ความเชื่อและความยิ่งใหญ่จากเทวสถานอันงดงามที่ตั้งตระหง่านอาบฟ้าอาบพื้นเดินมาอย่างยาวนานนับพันปี ทีปราากฏร่องรอยจากเศษสลักหินดินศิลา ในปราสาทเขาพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ สะท้อนให้เห็นถึงนัยยะแห่งความเชื่อความศรัทธาที่มีมาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ ในศาสนฮินดู ลัทธิไศวะ อันมีพระศิวะเป็นเทพเจ้าสูงสุดในความเชื่อนี้ปรากฏพาหนะเทพผู้มีพิทักษ์ประจำทิศทั้ง ๑๐ สะท้อนให้เห็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่ทุกปี ในขบวนแห่ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งเพื่อถวายความศรัทธาและประกาศความยิ่งใหญ่แด่พระศิวะ ด้วยมูลเหตุนี้จึงก่อให้เกิดแนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงาน เพื่อสื่อถึงความยิ่งใหญ่ ความวิจิตรงดงามสะท้อนด้วยลีลาท่วงท่าทางนาฏศิลป์ไทยผสมผสานกับการฟ้อนรำพื้นบ้านอีสาน สอดแทรกผสานกลิ่นไออีสานใต้ผ่านดนตรีและทำนองเพลง อันเป็นมนต์เสน่ห์แห่งเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างชัดเจน

วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ดชุดการแสดงวนศ.รอ.นิรมิตกรรมนิรมิตกรรม วนัมรุง เทพพาหนะสถาบันบัณฑิพัฒนศิลป์การแสดงสร้างสรรค์วนศ.ร้อยเอ็ดวนศ.รอ.